Tricks
สาระน่ารู้
หน้าแรก
เรื่องน่ารู้
ใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดให้เป็น

ปัจจุบันผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการใช้เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองชนิดพกพากันมากขึ้น เนื่องจากใช้งานง่าย สะดวก และให้ผลรวดเร็ว ดังนั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ฉบับนี้จึงนำสาระน่ารู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองชนิดพกพา ตลอดจนการเลือกซื้อมาฝากผู้อ่าน

ข้อบ่งชี้การตรวจน้ำตาลในเลือด

-          ผู้ป่วยที่ต้องการควบคุมเบาหวานอย่างเข้มงวด

-          ผู้ป่วยที่มีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำบ่อยๆ

-          ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน

-          ผู้ป่วยที่ควบคุมเบาหวานไม่ได้

-          ผู้ที่เพิ่งได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวาน ต้องการเรียนรู้การดูแลตนเอง

วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด

1.     เตรียมเครื่องตรวจวัด และแถบทอดสอบหรือตลับทดสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

2.     ปรับระดับความลึกของอุปกรณ์เข็มเจาะเลือดให้เหมาะสมกับสภาพความหนาของผิวบริเวณปลายนิ้ว

3.     ล้างมือให้สะอาด และทำให้แห้ง

4.     เจาะบริเวณด้านข้างของปลายนิ้วกลาง หรือนิ้วนาง

5.     เจาะเลือดในปริมาณเพียงเล็กน้อยที่บริเวณปลายนิ้ว ไม่ควรบีบเค้น

6.     กรณีที่เลือดไม่เพียงพอ ห้ามเค้นเลือด ให้เพิ่มระดับความลึกของเข็ม และเจาะเลือดใหม่โดยเปลี่ยนบริเวณที่เจาะ ไม่ซ้ำบริเวณเดิม

7.     ตรวจวัดน้ำตาลในเลือดตามขั้นตอนการตรวจวัดของคู่มือการใช้งานหรือเอกสารกำกับที่มาพร้อมกับเครื่องตรวจวัด

8.     กดห้ามเลือดบริเวณที่เจาะด้วยสำลีแห้งที่สะอาดจนเลือดหยุด

9.     ทิ้งเข็มที่ใช้แล้วและวัสดุปนเปื้อนอื่นๆ ในภาชนะที่ป้องกันการแทงทะลุก่อนนำไปทิ้งถังขยะ

หมายเหตุ วิธีตรวจน้ำตาลในเลือดตามคู่มือนี้เป็นคำแนะนำทั่วไป หากแตกต่างจากคู่มือของเครื่อง ให้ปฏิบัติตามคู่มือของเครื่องนั้นๆ

การอ่านค่า

            ผู้ป่วยที่ต้องเจาะเลือดตรวจวันละหลายๆ เวลา ให้บันทึกค่าที่อ่านได้จากเครื่องวัด ในแบบบันทึกการตรวจน้ำตาลในเลือดประจำตัวผู้ป่วย ที่อยู่ท้ายเล่ม เพื่อใช้ติดตามผล และใช้ปรับระดับการให้ยาหรืออินซูลินได้เหมาะสม

ข้อควรระวังและการหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด

ข้อควรระวัง

-          ปิดฝาให้สนิททันทีหลังเปิดใช้ แผ่นวัดต้องไม่เสื่อมสภาพ

-          ตรวจสอบวันหมดอายุของแผ่นวัด

-          เก็บรักษาเครื่องและภาชนะบรรจุแผ่นวัด ไว้ในที่แห้งและเย็น

-          ก่อนเจาะ นิ้วต้องสะอาดและแห้ง

-          หลีกเลี่ยงการเจาะจากบริเวณผิวหนังที่มีการติดเชื้อ

-          เจาะบริเวณดานข้างของปลายนิ้ว จะเจ็บน้อยกว่า

-          ไม่บีบเค้นเลือดบริเวณปลายนิ้ว เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลที่วัดได้ผิดพลาด

-          ไม่ควรใช้เข็มเจาะมากกว่า 1 ครั้ง

-          ทำความสะอาดช่องอ่านผลเป็นครั้งคราวเพื่อมิให้คราบเลือดรบกวนการอ่านผล

-          ควรตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้งานของเครื่องกับผู้แทนจำหน่ายอย่างสม่ำเสมอ ตามที่กำหนด

ข้อผิดพลาด

-          เลือดที่หยดมีปริมาณไม่เพียงพอ 

-          เวลาในการเสียบแผ่นวัดเพื่ออ่านผลไม่เหมาะสม

-          แผ่นวัด/แถบทดสอบหมดอายุ เสื่อม หรือเก็บในอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม

-          ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของเครื่องตรวจวัด

-          ไม่มีการปรับเครื่องให้ตรงตามโค้ดของแถบตรวจเมื่อเปลี่ยนแถบตรวจขวดใหม่

-          อ่านผิด

การเลือกซื้อเครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือด

-          ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก

-          คุณสมบัติของเครื่อง เช่น แบตเตอรี่ที่ใช้ มีหน่วยความจำมากในการเก็บข้อมูล

-          มีความเร็วในการแสดงผล

-          ราคาของเครื่องเหมาะสม

-          ราคาของแถบทดสอบหรือตลับทดสอบ ราคาของเข็ม ที่จะต้องซื้อเพิ่ม

-          มีข้อมูลการใช้งานจากผู้ผลิต ข้อควรปฏิบัติ คำแนะนำในการใช้ ข้อควรระวัง การเก็บรักษา

-          มีบริการหลังขาย

            การใช้เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองชนิดพกพา ทำให้ผู้ป่วยสามารถตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้เอง ใช้ควบคุมติดตามการเปลี่ยนแปลงค่าน้ำตาลในแต่ละช่วงเวลา ในแต่ละวัน กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ควรมีผู้ดูแลที่สามารถใช้เครื่องตรวจวัดเป็น หากพบค่าระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ มีค่าสูงไปหรือต่ำไป ต้องไปพบแพทย์เพื่อการรักษาอย่างถูกต้อง

ข้อมูลจาก...หนังสือใช้เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดให้เป็น

สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์

Page View : 2,974
เนื้อหาอื่นๆ
ทั้งหมด >>
ร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำ 70% มันช่างเป็นข้อพิสูจน์ถึงความสำคัญของน้ำต่อการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ เราแทบจะนึกภาพชีวิตของเราไม่ได้หากปราศจากน้ำ แต่ว่าน้ำร้อนหรือน้ำเย็นดีกว่ากัน? โดยเฉพาะหากใครอยากควบคุมน้ำหนัก ดื่มน้ำร้อนหรือน้ำเย็นช่วยได้มากกว่ากัน จริง ๆ แล้ว เป้าหมายหลักคือการรักษาระดับน้ำในร่างกายให้สมดุล และแนะนำให้ดื่มน้ำ 7-8 แก้วต่อวัน การจิบน้ำตลอดทั้งวันไม่เพียงแต่ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายเท่านั้น แต่ยังช่วยปรับปรุงการเผาผลาญอีกด้วย
03, 2024 @ 10:39
อาหารที่มีธาตุเหล็กสูงที่เราจะแนะนำกันในวันนี้คัดมาพิเศษสำหรับสาว ๆ ที่อยากเติมธาตุเหล็กให้ร่างกายในช่วงมีประจำเดือน เพราะผู้หญิงทุกคนจะรู้ดีว่าในวันนั้น ๆ ร่างกายจะอ่อนเพลีย หรือบางคนอาจมีอาการปวดท้องน้อย และวิงเวียนเบา ๆ ด้วย แม้ประจำเดือนจะเป็นเลือดที่มาจากการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกที่ไม่ได้ใช้งาน ทว่าการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและธาตุเหล็กที่ร่างกายสูญเสียไปในช่วงนี้ก็ส่งผลต่อสุขภาพในหลาย ๆ ระบบได้ ดังนั้น เพื่อให้สาว ๆ ยังคงแฮปปี้และเฮลธ์ตี้ มาดูกันว่าอาหารธาตุเหล็กสูงชนิดไหนบ้างที่ควรรับประทาน
01, 2024 @ 16:51
เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ หรือเครื่องฟอกอากาศแบบพกพา กำลังเป็นไอเทมที่หลายคนต้องพกติดตัวเวลาออกจากบ้าน ด้วยความเชื่อว่าจะช่วยฟอกอากาศบริสุทธิ์ และกำจัดฝุ่น PM2.5 ที่เป็นพิษต่อสุขภาพร่างกายได้ แต่ความจริงนั้นเป็นเช่นไร วันนี้มาทำความเข้าใจกัน
12, 2023 @ 14:30
องค์การอนามัยโลก มีคำแนะนำให้เราให้บริโภคผักและผลไม้ไม่ต่ำกว่าวันละ 400 กรัมต่อวัน เพื่อผลในการสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ลดโอกาสเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ
12, 2023 @ 14:24